วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


            วันนี้อาจารย์ให้ปรับปรุง Bloggerวันนี้อาจารย์สอนเรื่องวิธีการสอนนั้นมีหลายแบบ ซึ่งทุกวิธีสามารถนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี และหลักการประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดเป็นอันดับแรก ว่า ทำอะไรและเพื่ออะไร ต่อจากนั้นก็จะเป็นขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ ขั้นต่อไปก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย เสร็จทั้งหมดนี้แล้วก็นำไปเสนอ และขั้นท้ายสุดคือ การนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ต่อจากนั้นอาจารย์ให้ทำแบบประเมินและลิงค์ Blogger ของนักศึกษาทุกคนให้อาจารย์


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

                  วันนี้กลุ่มของดิฉันนำเสนองานนิทาน  
 กลุ่มของข้าพเจ้าได้เทคนิคการเล่าโดย  เล่าไปวาดไป

                    นิทานเรื่องตุ๊งแช่จอมซน 











วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง ให้ร้องให้เสร็จ จากนั้นนักศึกษาแต่ละกลุ่มเล่านิทานหน้าชั้นเรียน นิทานจะมีเล่าไปวาดไป นิทานเล่าไปฉีกไป นิทานเล่าไปพับไป นิทานเล่าโดยการใช้เชือก โดยทั้งหมดมี 18 กลุ่ม ดังนี้  
กลุ่มที่ 1 นิทานเรื่องช้างใจดี (เล่าไปฉีกไป) 
กลุ่มที่ 2 นิทานเรื่องเจ้าแสนซน (เล่าไปพับไป)
 กลุ่มที่ 3 นิทานเรื่องกระต่ายเพื่อนเกลอ (เล่าโดยใช้เชือก) 
ที่ 4 นิทานเรื่องโจรใจร้าย (เล่าโดยใช้เชือก) 
กลุ่มที่ 5 นิทานเรื่องเจ้าแกละกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป) 
กลุ่มที่ 6 นิทานเรื่องกบน้อยแสนซน (เล่าไปฉีกไป)
 กลุ่มที่ 7 นิทานเรื่องเจ้างูน้อยกับเถาวัลย์ (เล่าโดยใช้เชือก) 
กลุ่มที่ 8 นิทานเรื่องต้นไม้ของเรา (เล่าไปพับไป) 
กลุ่มที่ 9 นิทานเรื่องวันหยุดของน้องเบส (เล่าไปตัดไป) 
กลุ่มที่ 10 นิทานเรื่องดาวเคราะห์ของยาย (เล่าไปวาดไป)
 กลุ่มที่ 11 นิทานเรื่องตุ๊งแช่จอมซน(เล่าไปวาดไป)กลุ่มของดิฉัน 
 กลุ่มที่ 12 นิทานเรื่องน้องมดอยากไปเที่ยวทะเล (เล่าไปพับไป)
 กลุ่มที่ 13 นิทานเรื่องแพวิเศษ (เล่าไปพับไป) 
กลุ่มที่ 14 นิทานเรื่องความสุขของคุณยาย (เล่าไปวาดไป) 
กลุ่มที่ 15 นิทานเรื่องยักษ์สองตน (เล่าไปพับไป)
 กลุ่มที่ 16 นิทานเรื่องพระจันทร์ไม่มีเพื่อน (เล่าไปตัดไป)
 กลุ่มที่ 17 นิทานเรื่องพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง (เล่าไปวาดไป) 
กลุ่มที่ 18 นิทานเรื่องครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง (เล่าไปวาดไป)   




      

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

           
               ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาบอกชิ้นงานทั้งหมดที่มอบหมายให้ทำมีอะไรบ้าง หลังจากบอกเสร็จแล้ว อาจารย์ก็สอนถึงการสร้างสื่อการเรียนรู้ทางภาษา ว่าควรจัดให้มีหนังสือนิทาน เทปเพลง มีโต๊ะเล็กๆ  มีเบาะลองนั่ง หุ่นนิ้วมือ โรงละครเล็ก และมีกระดาษเล็กๆให้เขียนใส่กล่องหรือที่เรียกว่ามุมภาษา และอาจารย์ยังพูดถึงการบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการนี้จะเป็นตัวช่วยเสริม จะมีองค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นนำ ร้องเพลง นิทาน ประสบการณ์เดิม เกม และคำคล้องจอง ซึ่งควรจัดมุมประสบการณ์ให้ถูกต้องเพื่อที่เด็กจะได้รับการพัฒนาและได้รับความรู้จากมุมประสบการณ์นี้อย่างถูกต้องเหมาะสม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

    นำเสนอ 
การแต่งเพลง  ประกอบท่าเต้น
เพลง เด็กดีต้องฟัง






เพลง  เด็กดีต้องฟัง
เด็ก เด็ก เด็ก เราเป็นเด็กเชื่อฟังผู้ใหญ่
ฟังแล้วจะได้เข้าใจ ฟังแล้วจะได้เข้าใจ
เชื่อฟังผู้ใหญ่จะได้ดีเอย
เชื่อฟังผู้ใหญ่เป็นเด็กดีเอย

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

        วันนี้อาจารย์วันนี้อาจารย์ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วให้นักศึกษาทุกคนบรรยายเกี่ยวกับเพลงว่า ฟังแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ในเนื้อเพลงมีอะไรบ้าง จุดประสงค์ของเพลงต้องการจะสื่อถึงอะไร         
           อาจารย์ให้บรรยายลงในกระดาษ พอเพลงจบอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนอธิบายในสิ่งที่ตนบรรยาย เมื่อแต่ละคนบรรยายจบ         
           อาจารย์ก็พูดถึง เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

    ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ:ให้มาเรียนชดเชยในวันอาทิตย์



            ทำงานปฏิทิน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

  วันนี้อาจารย์สั่งงาน
-ให้หาปฏิทินตั้งโต๊ะโดยแบ่งกลุ่ม เพื่อที่นำไปเป็นสื่อที่ให้เกิดประโยชน์ต่อน้องๆ







    
    

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

    ไม่มีการเรียนการสอน


หมายเหตุ :เนื่องจากเป็นวันหยุด

   วันเข้าพรรษา 
ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘


    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา

หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


นำเสนอเล่านิทาน 

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปเล่านิทานให้น้องฟัง
เรื่อง แจ็คผู้ฆ่ายักษ์








บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

  อาจารย์สั่งงานให้ไปเล่านิทานให้น้องฟัง
แต่ลกลุ่มต้องไปทำงานที่ได้รับมอบหมาย









 การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย 

 นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน

                 นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป
         การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย(ต่อ)  

                เด็กอายุ 0 - 1 ปี


  นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้ 
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย 

               เด็กอายุ 2 - 3 ปี

              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต

                      เด็กอายุ 4 - 5 ปี

                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ 
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ          
 • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า

              วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก
     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง



วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5



นำเสนอการถ่ายทำวิดีโอ เกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัยแต่ลกลุ่ม

กลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย
 ภาษาของเด็ก 7 ขวบ 
ได้ผู้ สัมภาษณ์   คือ  น้องออม
สถานที่ถ่ายทำ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
























สมองเด็กแรกเกิด - 7 ขวบพร้อมเรียน"ภาษา"มากที่สุด  



       นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันเผย ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของมนุษย์คือ แรกเกิด - 7 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีความสามารถพิเศษบางประการที่ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เร็วกว่าการมาเรียนภาษาที่สองเมื่อโตแล้ว และงานวิจัยชิ้นนี้ยังช่วยจุดประกายให้บรรดาผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่มีปัญหาในการเรียนภาษาที่สองได้มีความหวังมากขึ้นด้วย
       
       "การค้นพบเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของสมองเด็กที่สามารถเรียนรู้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษาตั้งแต่ช่วงแรกเกิด - 7 ปีนี้ บางส่วนสามารถนำไปปรับใช้กับการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาที่สองของผู้ใหญ่" ดร.แพทริเซีย คัห์ล (Dr.Patricia Kuhl) แห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตัน หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว
       
       ด้วยรูปแบบเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา นักวิจัยค้นพบว่า เด็กทารกแรกเกิดมีความสามารถในการจำแนกความแตกต่างของเสียงเหล่านั้นได้ทั้งหมด แต่ความสามารถนี้จะเริ่มด้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเด็กอายุมากขึ้น
       
       พร้อมกันนี้ ดร.คัห์ลยังได้ยกตัวอย่างชาวอาทิตย์อุทัยที่ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียง L กับเสียง R ของภาษาอังกฤษได้ ดังนั้น การออกเสียงคำว่า rake และ lake ของคนญี่ปุ่นจึงยากที่จะฟังให้แตกต่างกัน
       
       อย่างไรก็ดี เมื่อทีมนักวิจัยได้ทำการพิสูจน์เรื่องนี้กับเด็กอายุ 7 เดือนในโตเกียว และเด็กอายุ 7 เดือนที่อาศัยอยู่ในซีแอตเติล กลับพบว่า เด็กทั้งสองคนสามารถจับความแตกต่างของเสียง R และ L ได้ดีพอ ๆ กัน แต่เมื่อทำการทดสอบอีกครั้งเด็กมีอายุ 11 เดือนกลับพบว่า การจำแนกความแตกต่างระหว่างเสียง R และ L ของเด็กญี่ปุ่นด้อยลงอย่างมาก
       
       "ในช่วงแรกเกิด - 6 เดือนแรก เป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และหนึ่งในการพัฒนาเหล่านี้ก็คือการสร้างโครงสร้างทางภาษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก"
       
       ทั้งนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เด็กทารกสามารถเรียนรู้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษาโดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด (แตกต่างจากผู้ใหญ่หลาย ๆ คนที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับภาษาที่สอง)
       
       อย่างไรก็ดี เพื่อให้สมองของเด็กซึมซับภาษาใหม่ลงไป จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงร่วมด้วย จะหวังพึ่งแต่ซีดีประกอบการเรียนรู้ หรือทีวีเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่สามารถทำได้ วิธีง่าย ๆ ที่จะใช้สอนทารกก็คือการพูดกับเขา (พูดทั้งภาษาแม่ และภาษาที่สอง หรือสามกับเด็ก) และการสร้างสภาพแวดล้อมแบบสองภาษาจะทำให้สมองของเด็กมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าด้วย



       โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กที่เติบโตมากับสภาพแวดล้อมแบบสองภาษา หรือแม้จะแค่ภาษาแม่ภาษาเดียวก็ตาม จะเริ่มหัดพูดได้ในช่วงอายุประมาณ 1 ขวบเป็นต้นไป และอาจสามารถพูดได้ 50 คำเมื่ออายุ 18 เดือน
       
    "พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์" คุณพ่อผู้แต่งหนังสือ "เด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้" ที่สร้างสภาพแวดล้อมแบบสองภาษาจน ลูกสาววัย 4 ขวบสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทย - อังกฤษอย่างคล่องแคล่ว  โดยมีมุมมองเกี่ยวกับการฝึกภาษาของเด็กว่า "ส่วนตัวศรัทธาในหนังสือรอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว จากจุดนั้นทำให้เกิดความเชื่อว่าเด็กมีความสามารถ เราก็เลยลองทำ ซึ่งพอทำไปได้สัก 3 - 6 เดือน ก็เริ่มมีบทความงานวิจัยออกมาสนับสนุนสิ่งที่เราคิดมากขึ้น"
       
       "สิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคก็คือ บางครั้งพ่อแม่หวังพึ่งครูมากเกินไป ผมว่าการเปลี่ยนครูภาษาให้เป็นพ่อแม่มันยาก เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครูภาษาง่ายกว่า เพราะปัจจุบันนี้เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ มีครบ จึงเอื้อต่อพ่อแม่มากกว่าในอดีต"
       
       "ขอฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังพยายามอยู่ว่า เด็กเล็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ และคนที่ใกล้เขามากที่สุดเพื่อให้เขาได้เลียนแบบก็คือพ่อแม่ ในเรื่องของการฝึกภาษา ขอให้ถือเป็นภารกิจ เป็นการสร้างทุนปัญญาให้กับลูก สะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อเขาโตขึ้นไปมันก็จะกลายเป็นกองทุนปัญญาให้เขาหยิบไปใช้ และการฝึกก็อย่าไปเครียดกับมันมาก เพราะแต่ละครอบครัวมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทำแล้วให้สนุกมีความสุขให้การทำ ถึงจุดหนึ่งรู้สึกเกินกำลัง หรือเกินไปจากเงื่อนไขของครอบครัวก็สามารถพักได้"






บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


         วันนีไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ให้ทุกกลุ่มกลับไปแก้ไขปรับปรุ่งงานมาใหม่ให้เรียบร้อย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


          วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน ครูสั่งงานให้นักศึกษาไปค้นคว้ารายละเอียดในหัวข้อที่ได้รับ มาทำรายเป็นรายงาน และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมารายงานในสัปดาห์ต่อไป  

     

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


                           วันนี้อาจารย์ ให้ความหมายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็ก โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการถามตอบเกี่ยวกับความหมายของวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กจะมีหัวข้อใหญ่ๆคือ การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก แต่ล่ะข้อก็จะมีความหมายและหัวข้อย้อยออกมาอีก


ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาตัวเด็ก ดังนี้
1. ทำให้ทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลงและสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กที่
เกิดขึ้นในแต่ละวัย การเจริญเติบโตของเด็กจะดำเนินไปตามแบบแผนของพัฒนาการที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่แน่นอน พัฒนาการของเด็กที่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปของเด็กในวัยเดียวกัน แสดงว่ามีพัฒนาการสมวัย หากพัฒนาการใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว อาจมีพัฒนาการล่าช้าหรือผิดปกติได้ จำเป็นต้องรีบค้นหาสาเหตุและแก้ไข
2. ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กทุกคนมีความต้องการพื้นฐานที่สอดคล้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเอาในใส่ดูแลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจะสามารถพัฒนาตนเองเต็มศักยภาพที่มีอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและประสบการณ์การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสภาพพัฒนาการและเน้นให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง
3. ทำให้ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพส่วนบุคคล ความแตกต่าง
เฉพาะตัวของเด็กขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยที่พันธุกรรมเป็นปัจจัยภายในที่กำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและขีดความสามารถที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยภายนอกที่ผันแปรศักยภาพดังกล่าวได้ สามารถพัฒนาเร็วขึ้นหรือล่าช้าได้ เด็กแต่ละคนจึงมีอัตราพัฒนาการที่แตกต่างกันและไม่อาจเปรียบเทียบศักยภาพของการพัฒนาในช่วงเวลาเดียวกันได้ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กจึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของลักษณะกิจกรรมและระยะเวลา
4. ทำให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้สอดคล้องกับระดับความสามารถ
และวิธีการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละวัย เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นและสนใจสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา การเปิดโอกาสให้เด็กดีรับประสบการณ์ตรงจากการเล่นและใช้จินตนาการตามความนึกคิด ความสนใจและความสามารถของเด็ก เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ รับรู้และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างราบรื่นและการพัฒนาไปได้จนถึงขีดสูงสุด
5. ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมเด็ก และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหา
พัฒนาการของเด็กเกิดจากการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและสลับซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือทั่งคู่บกพร่องและไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความผิดปกติของพัฒนาการ อันนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมเด็กได้ ทั้งนี้ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับความมากน้อยของปัญหา การทำความเข้าใจกับสาเหตุที่มาของปัญหา จะช่วยป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกหรือลดน้อยลงรวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มิให้ลุกลามเป็นปัญหาร้ายแรงในภายภาคหน้าได้

         

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



    อาจารย์ได้ย้ายห้องเรียนจากห้อง441มาเรียนที่238เป็นห้องคอมพิวเตอร์ และให้นักศึกษา2คนต่อคอมพิวเตอร์1เครื่อง อาจารย์ให้สร้างบล๊อกเกอร์ส่วนตัว เพื่่อที่จะเก็บสะสมผลงานของนักศึกษา อาจารย์ให้ออกแบบบล๊อกที่สร้างสรรค์แล้วให้คะแนะตามความเหมาะสม ขณะทำงานได้ประสบปัญหาคือ อินเตอรืเน๊ทช้าเนื่องจากเข้าใช่งานเป้นจำนวนมาก และมีเพื่อนบางคนสมัครไม่ได้  และอาจารย์ได้บอกข้อตกลงเกี่ยวการเรียนในรายวิชานี้ คือ ก่อนเข้าห้องต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง ให้แต่กายให้ถูกระเบียบไม่ใช่ชุดพละมาเรียน เข้าเรียนให้ตรงเวลา
      
                                                        

   หมายเหตุ  ขาดเรียน
เพื่อนบอกมา