วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5



นำเสนอการถ่ายทำวิดีโอ เกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัยแต่ลกลุ่ม

กลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย
 ภาษาของเด็ก 7 ขวบ 
ได้ผู้ สัมภาษณ์   คือ  น้องออม
สถานที่ถ่ายทำ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
























สมองเด็กแรกเกิด - 7 ขวบพร้อมเรียน"ภาษา"มากที่สุด  



       นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันเผย ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของมนุษย์คือ แรกเกิด - 7 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีความสามารถพิเศษบางประการที่ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เร็วกว่าการมาเรียนภาษาที่สองเมื่อโตแล้ว และงานวิจัยชิ้นนี้ยังช่วยจุดประกายให้บรรดาผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่มีปัญหาในการเรียนภาษาที่สองได้มีความหวังมากขึ้นด้วย
       
       "การค้นพบเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของสมองเด็กที่สามารถเรียนรู้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษาตั้งแต่ช่วงแรกเกิด - 7 ปีนี้ บางส่วนสามารถนำไปปรับใช้กับการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาที่สองของผู้ใหญ่" ดร.แพทริเซีย คัห์ล (Dr.Patricia Kuhl) แห่ง มหาวิทยาลัยวอชิงตัน หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว
       
       ด้วยรูปแบบเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา นักวิจัยค้นพบว่า เด็กทารกแรกเกิดมีความสามารถในการจำแนกความแตกต่างของเสียงเหล่านั้นได้ทั้งหมด แต่ความสามารถนี้จะเริ่มด้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเด็กอายุมากขึ้น
       
       พร้อมกันนี้ ดร.คัห์ลยังได้ยกตัวอย่างชาวอาทิตย์อุทัยที่ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียง L กับเสียง R ของภาษาอังกฤษได้ ดังนั้น การออกเสียงคำว่า rake และ lake ของคนญี่ปุ่นจึงยากที่จะฟังให้แตกต่างกัน
       
       อย่างไรก็ดี เมื่อทีมนักวิจัยได้ทำการพิสูจน์เรื่องนี้กับเด็กอายุ 7 เดือนในโตเกียว และเด็กอายุ 7 เดือนที่อาศัยอยู่ในซีแอตเติล กลับพบว่า เด็กทั้งสองคนสามารถจับความแตกต่างของเสียง R และ L ได้ดีพอ ๆ กัน แต่เมื่อทำการทดสอบอีกครั้งเด็กมีอายุ 11 เดือนกลับพบว่า การจำแนกความแตกต่างระหว่างเสียง R และ L ของเด็กญี่ปุ่นด้อยลงอย่างมาก
       
       "ในช่วงแรกเกิด - 6 เดือนแรก เป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และหนึ่งในการพัฒนาเหล่านี้ก็คือการสร้างโครงสร้างทางภาษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก"
       
       ทั้งนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เด็กทารกสามารถเรียนรู้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษาโดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด (แตกต่างจากผู้ใหญ่หลาย ๆ คนที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับภาษาที่สอง)
       
       อย่างไรก็ดี เพื่อให้สมองของเด็กซึมซับภาษาใหม่ลงไป จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงร่วมด้วย จะหวังพึ่งแต่ซีดีประกอบการเรียนรู้ หรือทีวีเพียงอย่างเดียวนั้นคงไม่สามารถทำได้ วิธีง่าย ๆ ที่จะใช้สอนทารกก็คือการพูดกับเขา (พูดทั้งภาษาแม่ และภาษาที่สอง หรือสามกับเด็ก) และการสร้างสภาพแวดล้อมแบบสองภาษาจะทำให้สมองของเด็กมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าด้วย



       โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กที่เติบโตมากับสภาพแวดล้อมแบบสองภาษา หรือแม้จะแค่ภาษาแม่ภาษาเดียวก็ตาม จะเริ่มหัดพูดได้ในช่วงอายุประมาณ 1 ขวบเป็นต้นไป และอาจสามารถพูดได้ 50 คำเมื่ออายุ 18 เดือน
       
    "พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์" คุณพ่อผู้แต่งหนังสือ "เด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้" ที่สร้างสภาพแวดล้อมแบบสองภาษาจน ลูกสาววัย 4 ขวบสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทย - อังกฤษอย่างคล่องแคล่ว  โดยมีมุมมองเกี่ยวกับการฝึกภาษาของเด็กว่า "ส่วนตัวศรัทธาในหนังสือรอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว จากจุดนั้นทำให้เกิดความเชื่อว่าเด็กมีความสามารถ เราก็เลยลองทำ ซึ่งพอทำไปได้สัก 3 - 6 เดือน ก็เริ่มมีบทความงานวิจัยออกมาสนับสนุนสิ่งที่เราคิดมากขึ้น"
       
       "สิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคก็คือ บางครั้งพ่อแม่หวังพึ่งครูมากเกินไป ผมว่าการเปลี่ยนครูภาษาให้เป็นพ่อแม่มันยาก เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครูภาษาง่ายกว่า เพราะปัจจุบันนี้เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ มีครบ จึงเอื้อต่อพ่อแม่มากกว่าในอดีต"
       
       "ขอฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังพยายามอยู่ว่า เด็กเล็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ และคนที่ใกล้เขามากที่สุดเพื่อให้เขาได้เลียนแบบก็คือพ่อแม่ ในเรื่องของการฝึกภาษา ขอให้ถือเป็นภารกิจ เป็นการสร้างทุนปัญญาให้กับลูก สะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อเขาโตขึ้นไปมันก็จะกลายเป็นกองทุนปัญญาให้เขาหยิบไปใช้ และการฝึกก็อย่าไปเครียดกับมันมาก เพราะแต่ละครอบครัวมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทำแล้วให้สนุกมีความสุขให้การทำ ถึงจุดหนึ่งรู้สึกเกินกำลัง หรือเกินไปจากเงื่อนไขของครอบครัวก็สามารถพักได้"






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น